วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 3 พรบ. คอมพิวเตอร์ ปี 2560





เครดิตรูปภาพจาก คลิ๊ก 

     พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
(( ข้อมูลจาก คลิ๊ก ))
เครดิตรูปจาก คลิ๊ก



ปัจจุบัน พ.ร.บ.คอม ฉบับใหม่นั้นได้ถูกมีผลบังคับใช้แล้ว โดยการนำฉบับเดิมไปแก้ไขข้อกฎหมายให้มีโทษเข้มข้นขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มกฎหมายข้อใหม่เข้ามาเพื่อรองรับกับผู้กระทำผิดมากขึ้น 

ความผิดที่เข้าข่ายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
1.การโพสข้อความฝากร้าน
การโพสข้อความโฆษณา ร้านค้า โดยก่อให้เกิดความรำคาญแก่บุคคลทั่วไปนั้น ถือว่าเข้าข่าย และมีโทษปรับเป็นเงิน 200,000 บาท โดยมาตรานี้บังคับใช้ในโซเชียลทั่วไปอย่าง Facebook และ Instagram ที่เหล่าบรรดานักขายทั้งหลายที่ชอบมาฝากร้านกันบ่อย ๆ คราวนี้ผิดเต็ม ๆ

2.โฆษณาโดยไม่ยินยอม

การส่งข้อความ SMS ในรูปแบบโฆษณาถือเป็นการทำสแปมที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น โดยไม่มีช่องทางให้บอกเลิก รวมถึงการส่งข้อความในรูปแบบ E-Mail เช่นกัน จะต้องเสียค่าปรับ 200,000 บาท
3.การกดไลค์
การกดไลค์ ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้ปกติ ตราบใดที่เป็นเรื่องที่ไม่ผิดศีลธรรม หรือเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์
4.การกดแชร์ข้อมูล
การเผยแพร่ข้อมูล หรือส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเสียหาย อับหาย แก่ผู้อื่น อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
5.การเข้าระบบผู้อื่นโดยมิชอบ
มีความผิดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยความผิดในส่วนการเข้าถึงข้อมูล หรือดักข้อมูล จำคุกถึง 2 ปี ปรับ 40,000 บาท สำหรับคนที่เจาะระบบเข้ามาและนำช่องโหว่ไปเปิดเผยต่อบุคคลทั่วไปโดนจับคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท ตามมาตรา 5 – 8
6.การนำเข้าข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ.
ข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ข้อความดูหมิ่นสถาบัน และความมั่นคงของประเทศ รวมถึงสื่อลามกอนาจาร ถ้ากระทบต่อบุคคลเดียว จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสน ในกรณีหลอกลวงประชาชน จำคุก 4 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ความผิดตามมาตรา 14
7.การตัดต่อ แต่งเติมภาพ
ตัดต่อภาพผู้อื่น หรือผู้ตายเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป หรือทำให้ชื่เสื่อมเสียชื่อเสียง และได้รับความอับอาย จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ตามมาตราที่ 16 โดยจะต้องดำเนินการตามที่ศาลสั่ง เช่น การทำลายข้อมูล การบรรเทาความเสียหายจากการกระทำของตน ส่วนผู้ใดที่ครอบครองข้อมูลดังกล่าว และไม่ทำลายตามคำสั่งศาลจะต้องรับโทษกึ่งหนึ่ง
8.สร้างโปรแกรมผิดกฎหมาย
พัฒนาโปรแกรมที่ทำงานผิดกฎหมาย พ.ร.บ. ใช้ในการจู่โจมระบบ การดักข้อมูล ก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพสินย์ และข้อมูล มีความผิดจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทตามความผิดมาตรา 13
9.ให้ความร่วมมือกับผู้กระทำผิด
ผู้ที่ให้ความร่วมมือกับผู้ที่กระทำผิดมาตรา 14 นำเข้าข้อมูลผิด พ.ร.บ ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน เว้นแต่จะแจ้งตามระเบียบแล้ว โดยศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลไว้อย่างน้อย 90 วัน หรือไม่เกิน 2 ปี

(( ข้อมูลจาก คลิ๊ก   ))

ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้ เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ อาจจะเผลอไปทำผิดโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

กรณีศึกษา: การทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

 

     กรณีนี้ที่ออกข่าวอย่างโด่งดังเช่นกัน เป็นกรณีที่มีชายหนุ่มนึ่งถ่ายรูปตึกที่มีลักษณะเอนๆ พร้อมโพสต์ข้อความประมาณว่า ตึกทรุดตัว ลงบนเฟสบุ๊ค เลยทำให้เกิดเป็นประเด็นที่หลายเอาตกอกตกใจไปกันใหญ่ แต่ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่า ตึกที่เห็นนั้นเป็นเพียงดีไซน์ของตึกที่ตั้งใจจะให้เอนแบบนั้นอยู่แล้ว เลยทำให้เจ้าของโพสต์ถูกตำรวจเรียกสอบสวน เพราะเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 นำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จก่อให้เกิดความตื่นตระหนก มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(( ข้อมูลจาก คลิ๊ก ))



พรบ. คอมพิวเตอร์ 2560 ฉบับเต็ม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรม ที่ 3 Presentation

presentation 3 from GanokwanBaitoey